“เกาะกรีนแลนด์” นั้น แม้จะมีคำว่า “สีเขียว” อยู่ในชื่อ แต่ความจริงแล้วมันเป็นหนึ่งในดินแดนน้ำแข็งอันหนาวเหน็บ แทบจะหาสิ่งมีชีวิตหรือพืชพรรณที่ดินแดนแห่งนี้ไม่ได้
กระนั้น ด้วยภาวะโลกร้อนและวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกได้ทำให้น้ำแข็งที่นี่ละลายไปเป็นจำนวนมหาศาล มิหนำซ้ำอากาศที่อุ่นขึ้นก็ทำให้พื้นที่สีเขียวเพิ่มมากขึ้น จนมีแนวโน้มว่ากรีนแลนด์กำลังจะเขียว (กรีน) สมชื่อแล้วจริง ๆ
กัมพูชารายงานพบ “โลมาอิรวดี” เกิดใหม่ ตัวแรกของปี 2024
“กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม” กำลังถึงจุดเปลี่ยนสำคัญของการล่มสลาย
พบดาวเคราะห์ “ซูเปอร์เอิร์ธ” ที่อาจเหมาะสำหรับการดำรงชีวิต!
การศึกษาใหม่ที่เพิ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 13 ก.พ. ซึ่งตรวจสอบพื้นที่เกาะกรีนแลนด์ด้วยดาวเทียมในช่วงกว่า 30 ปี ระหว่างทศวรรษ 1980-2010 พบว่า กรีนแลนด์สูญเสียพื้นที่น้ำแข็งไปถึง 28,707 ตารางกิโลเมตร หรือใหญ่กว่าจังหวัดเชียงใหม่ทั้งจังหวัด
พื้นที่ซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งและหิมะยังได้แปรสภาพเป็นพื้นที่หินแห้ง ๆ พื้นที่ชุ่มน้ำ หรือแหล่งเกิดไม้พุ่ม ปริมาณพืชพรรณเพิ่มขึ้น 2 เท่า ทำให้พื้นที่ที่มีพืชพรรณเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 87,400 ตารางกิโลเมตร หรือมากกว่า 4 เท่าของพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ทั้งจังหวัด
พื้นที่สีเขียวที่เพิ่มขึ้นนั้น หากเทียบสัดส่วนแล้ว พบว่าเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงที่เริ่มการศึกษา
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนอกจากจะเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงปัญหาโลกร้อนแล้ว การละลายของน้ำแข็งยังมีส่วนทำให้ดลกร้อนขึ้นไปอีกด้วย
อุณหภูมิของอากาศที่อุ่นขึ้นทำให้เกิดการสูญเสียน้ำแข็ง ส่งผลให้อุณหภูมิพื้นดินสูงขึ้น นั่นทำให้เกิดการละลายของชั้นเพอร์มาฟรอสต์ (Permafrost) ซึ่งเป็นชั้นน้ำแข็งใต้พื้นผิวโลก โดยการละลายนั้นจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมีเทนที่ทำให้โลกร้อนขึ้ออกมาน มีส่วนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนมากขึ้นไปอีก
การละลายของชั้นเพอร์มาฟรอสต์ยังก่อให้เกิดความไม่มั่นคงของที่ดิน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานและอาคารต่าง ๆ
โจนาธาน คาร์ริวิก นักอนุรักษ์ หนึ่งในทีมวิจัย บอกว่า “ในเวลาเดียวกัน น้ำที่ปล่อยออกมาจากน้ำแข็งที่กำลังละลายกำลังเคลื่อนย้ายตะกอนต่าง ๆ และในที่สุดจะก่อตัวเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำและที่ราบลุ่ม”คำพูดจาก สล็อต true wallet
นอกจากนี้ โดยปกติหิมะและน้ำแข็งจะสะท้อนพลังงานของดวงอาทิตย์กลับไปสู่อวกาศ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความร้อนมากเกินไปในบางส่วนของโลก แต่เมื่อน้ำแข็งหายไป พื้นที่เหล่านั้นก็จะดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้น ส่งผลให้อุณหภูมิพื้นผิวดินสูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดการละลายเพิ่มเติมและผลกระทบด้านลบอื่น ๆ
น้ำแข็งละลายยังเพิ่มปริมาณน้ำในทะเลสาบ โดยที่น้ำดูดซับความร้อนได้มากกว่าหิมะ ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิพื้นผิวดินเพิ่มขึ้น
กรีนแลนด์ร้อนขึ้นเป็น 2 เท่าของอัตราเฉลี่ยทั่วโลกนับตั้งแต่ทศวรรษ 1970 และอาจมีอุณหภูมิที่สูงมากขึ้นไปอีกเรื่อย ๆ ในอนาคต
ด้าน ดร.ไมเคิล กริมส์ หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า “การขยายตัวของพืชพรรณที่เกิดขึ้นควบคู่ไปกับการหดตัวของธารน้ำแข็งและแผ่นน้ำแข็ง กำลังเปลี่ยนแปลงการไหลของตะกอนและสารอาหารลงสู่น่านน้ำชายฝั่งอย่างมีนัยสำคัญ”
เขาเสริมว่า “การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประชากรพื้นเมืองซึ่งแนวทางการล่าสัตว์เพื่อยังชีพแบบดั้งเดิมต้องอาศัยความมั่นคงของระบบนิเวศที่ละเอียดอ่อนเหล่านี้ ยิ่งไปกว่านั้น การสูญเสียมวลน้ำแข็งในกรีนแลนด์มีส่วนสำคัญที่ทำให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ก่อให้เกิดความท้าทายที่สำคัญทั้งในปัจจุบันและในอนาคต”
นอกจากที่กรีนแลนด์แล้ว หมีขั้วโลกในอ่าวฮัดสันของแคนาดาขณธนี้เอง ก็กำลังเสี่ยงต่อภาวะอดอยาก เนื่องจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศทำให้ระยะเวลาที่ไม่มีน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกยาวนานขึ้น
หมีขั้วโลกใช้น้ำแข็งที่ทอดยาวไปทั่วพื้นผิวมหาสมุทรในแถบอาร์กติกในช่วงเดือนที่อากาศหนาวเย็นกว่า เพื่อช่วยให้พวกมันเข้าถึงแหล่งอาหารหลัก นั่นคือ แมวน้ำ ซึ่งให้ไขมันและพลังงานสูง
ในช่วงเดือนที่อากาศอบอุ่น เมื่อน้ำแข็งในทะเลลดระดับลง พวกมันมักจะประหยัดพลังงานและอาจเข้าสู่ภาวะจำศีล แต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากมนุษย์กำลังขยายระยะเวลาปลอดน้ำแข็งในบางส่วนของอาร์กติก ซึ่งร้อนเร็วกว่าส่วนอื่น ๆ ของโลกประมาณ 2-4 เท่า และบังคับให้หมีขั้วโลกใช้เวลาอยู่บนบกมากขึ้นเรื่อย ๆ
งานวิจัยใหม่เกี่ยวกับหมีขั้วโลก 20 ตัวในอ่าวฮัดสัน ชี้ให้เห็นว่า แม้ไม่มีน้ำแข็งในทะเล แต่พวกมันยังคงพยายามหาอาหารอยู่
แอนโทนี ปากาโน นักชีววิทยาสัตว์ป่าที่ทำการวิจัยร่วมกั สำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาสหรัฐฯ หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า “หมีขั้วโลกมีความคิดสร้างสรรค์ พวกมันฉลาด พวกมันจะค้นหาภูมิทัศน์เพื่อหาหนทางที่จะอยู่รอด และค้นหาแหล่งอาหารเพื่อชดเชยความต้องการพลังงานของพวกมัน”
ทีมวิจัยใช้ปลอกคอ GPS ติดกล้องวิดีโอเพื่อติดตามหมีขั้วโลกเป็นเวลา 3 สัปดาห์ติดต่อกัน 3 ปีในอ่าวฮัดสันตะวันตก ซึ่งเป็นที่ที่ระยะเวลาปลอดน้ำแข็งเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 3 สัปดาห์เมื่อเทียบกับปี 1979 ซึ่งหมายความว่า ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา หมีขั้วโลกต้องอยู่บนบกที่ปราศจากน้ำแข็งถึงประมาณ 130 วันหรือมากกว่า 1 ใน 3 ของปี
นักวิจัยพบว่า จากหมี 20 ตัว มี 2 ตัวที่ลดการใช้พลังงานทั้งหมดให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับการจำศีล แต่อีก 18 ตัวยังคงเคลื่อนไหวหาอาหารอยู่
การศึกษาระบุว่า หมีที่กระตือรือร้นเหล่านี้อาจถูกกดดันให้หาอาหารต่อไป โดยแต่ละตัวมีการกินอาหารที่หลากหลาย ทั้งหญ้า ผลเบอร์รี นกนางนวล สัตว์ฟันแทะ และซากแมวน้ำ
ในจำนวนนี้ 3 ตัวออกไปว่ายน้ำระยะไกล โดยตัวหนึ่งเดินทางเป็นระยะทางรวม 175 กิโลเมตร ในขณะที่หมีตัวอื่น ๆ ใช้เวลาเล่นด้วยกันหรือแทะเขากวางแคริบู ซึ่งนักวิจัยกล่าวว่าเหมือนกับวิธีที่สุนัขใช้แทะกระดูก
แต่ท้ายที่สุดแล้ว นักวิจัยพบว่าความพยายามของหมีในการหาอาหารบนบกไม่ได้ให้แคลอรีเพียงพอเท่ากับจากแมวน้ำในช่วงฤดูที่มีน้ำแข็ง
ทีมวิจัยกล่าวว่า มีหมีขั้วโลกถึง 19 ตัวจาก 20 ตัวที่น้ำหนักลดลงในช่วงเวลาดังกล่าว นั่นหมายความว่า ยิ่งหมีขั้วโลกใช้เวลาอยู่บนบกนานเท่าไร ความเสี่ยงที่จะอดอยากก็จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น
เรียบเรียงจาก CNN / The Guardian
เปิดความหมาย "ดอกกุหลาบ" และ 40 ความหมายดอกไม้รับ "วันวาเลนไทน์"
104 แคปชัน-คำอวยพร วาเลนไทน์ 2567 ประโยคเด็ดบอกสถานะ โสด มีคู่ อกหัก
ทำความเข้าใจกฎหมาย “ครอบครองปรปักษ์” ก่อนสูญเสียที่ดินให้คนอื่นไม่รู้ตัว