“ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” รายงานเงินบาทสัปดาห์ที่ผ่านมา อ่อนค่าลงเกือบตลอดทั้งสัปดาห์ โดยเงินบาททยอยอ่อนค่าลง สอดคล้องกับสกุลเงินในภูมิภาคและสถานะขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ ขณะที่ตลาดยังคงติดตามสถานการณ์การเมืองของไทยอย่างใกล้ชิด
นอกจากนี้เงินดอลลาร์ ขยับแข็งค่าขึ้นตามการปรับขึ้นของบอนด์ยีลด์สหรัฐ และยังมีแรงหนุนจากถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟดและข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ ที่ดีกว่าที่คาด ซึ่งกระตุ้นให้ตลาดบางส่วน กลับมาประเมินโอกาสความเป็นไปได้ของการปรับขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐ ในเดือน มิ.ยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ใหม่อีกครั้ง แม้เสียงส่วนใหญ่จะมองว่า เฟดน่าจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมก็ตาม
เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 2 เดือนที่ 34.77 บาทต่อดอลลาร์ ก่อนลดช่วงอ่อนค่าลงมาได้บางส่วนช่วงปลายสัปดาห์ ขณะที่ตลาดกลับมารอติดตามผลการประชุม กนง. (31 พ.ค.) และข้อสรุปของการเจรจาปรับเพิ่มเพดานหนี้ของสหรัฐ
ในวันศุกร์ที่ 26 พ.ค. 2566 เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 34.67 บาทต่อดอลลาร์ เทียบกับ 34.38 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (19 พ.ค.) สำหรับสถานะพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติระหว่างวันที่ 22-26 พ.ค. 2566 นั้น นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 12,189 ล้านบาท และมีสถานะเป็น Net Outflows ออกจากตลาดพันธบัตรไทย 20,824 ล้านบาท (ขายสุทธิพันธบัตร 17,664 ล้านบาท และมีตราสารหนี้หมดอายุ 3,160 ล้านบาท)
สัปดาห์ถัดไป (29 พ.ค.-2 มิ.ย.) ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ระดับ 34.30-34.90 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ผลการประชุม กนง. (31 พ.ค.) สถานการณ์การเมืองในประเทศ ตัวเลขการส่งออก/รายงานเศรษฐกิจการเงินเดือน เม.ย. ของไทย ทิศทางเงินทุนต่างชาติ และผลการเจรจาปรับเพิ่มเพดานหนี้ของสหรัฐ
ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ ที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร อัตราการว่างงาน ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนของ ADP ดัชนี PMI/ISM ภาคการผลิต ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน พ.คคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ข้อมูล JOLTS เดือน เม.ย. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และรายงาน Beige Book ของเฟด นอกจากนี้ ตลาดยังรอติดตามดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือน พ.ค. ของจีน ยูโรโซน และอังกฤษด้วยเช่นกัน